คลิ๊กที่นี่!! เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ ปลาทูทอดออนไลน์ ดอทคอม
ในการตรวจความปลอดภัยนั้น โดยรวมแล้วต้องครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ ดังนี้นะคะ
1.การตรวจเครื่องจักร
1.1 การสัมผัสของผู้ทํางานเข้าสัมผัสส่วนหมุนเครื่องจักรหรือไม่
1.2 การชนกระแทก มีโอกาสชน เหวี่ยงโดนคนงานหรือไม่
1.3 การติดอยู่ในจุดอันตราย มีส่วนใดของร่างกายเข้าติดกับจุดอันตรายของเครื่องจักรหรือไม่ เช่น จุดตัด หนีบ บด
1.4 การหลุดกระเด็น ของเศษวัสดุหรือเครื่องจักร เช่น สายพาน เศษเจียระไน-กลึง-ไสโลหะ
2.การตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าและไฟฟ้า
2.1 ตรวจขนาดสายไฟที่ใช้กับกระแสไฟที่ใช้เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
2.2 ตรวจการเดินสายไฟ เทียบกับมาตรฐาน
2.3 ตรวจความเหมาะสมของชนิดสายไฟกับลักษณะการใช้งาน และสภาพสายไฟชํารุดหรือไม่
2.4 ตรวจว่ากีดขวางเครื่องจักรและการจราจรหรือไม่วางบนพื้นเปียกหรือไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการเหยียบทับไหม?
2.5 ขนาดและความเหมาะสมของฟิวส์ การต่อสายดินของแผงหรือตู้ควบคุม? การแตกของปลั๊ก/อุปกรณ์ใกล้สารเคมีหรือสารไวไฟ? สภาพภายนอกอุปกรณ์ไฟฟ้า? มีมาตรฐานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า? อุปกรณ์มีและต่อสายดิน?
3.การตรวจสารเคมี ถ้าต้องการทราบผลที่แน่ชัด ต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดเท่านั้น
3.1 ตา / ผิวหนังระคายเคืองเมื่อผู้ตรวจเข้าไปในบริเวณนั้นๆ
3.2 มีกลิ่นฉุนเมื่อเข้าไป
3.3 เห็นเสื้อผ้าลูกจ้างเลอะฝุ่น / สารเคมี
3.4 เห็นการเคลื่อนย้ายสารเคมีไม่ปลอดภัย หรือพบการหก หล่น เรี่ยราด
3.5 พบฝุ่น / ควันฟุ้งกระจายในบริเวณที่ทํางาน มีการระบายอากาศไม่เหมาะ ไม่มีการซ่อมบํารุง
3.6 พบว่าไม่มีการควบคุมการฟุ้งกระจายสารเคมี ไม่มีการปิดฝาให้มิดชิด
3.7 ลูกจ้างไม่ใช่หรือไม่มี PPE
3.8 มีการร้องเรียนหรือพบว่าลูกจ้างมีอาการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่ทําอยู่
4.การตรวจสภาพแวดล้อมในการทํางาน ถ้าตรวจทางด้านกายภาพ แสง เสียง ความร้อนแรงสั่นสะเทือน ต้องใช้เครื่องมือตรวจวัด
4.1 ลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่มี PPE หรือมีแต่ไม่เหมาะสม
4.2 พบลูกจ้างมีอาการผิดปกติกับร่างกายเนื่องจากสภาพแวดล้อม
4.3 ผู้ตรวจซึ่งไม่ชินกับบริเวณที่ลูกจ้างทํางานเมื่อเข้าไปแล้วทนกับสภาพแวดล้อมไม่ค่อยได้ เช่น เสียงดัง ร้อน
4.4 พบการทํางานของลูกจ้างข้อ 4.3 เนื่องจากลูกจ้างมีการทํางานสัมผัสกับสภาพแวดล้อมการทํางานนั้นเป็นเวลานาน
4.5 พบต้นกําเนิดของสาเหตุเกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยเกิดจากเครื่องมือเครื่องจักรไม่มาตรฐาน ขาดการดูแล
5.การตรวจการกระทําที่ไม่ปลอดภัย
5.1 แต่งกายไม่เหมาะสม
5.2 มีพฤติกรรมหรือการทํางานที่ไม่ปลอดภัย เช่น ใจลอย โมโหร้าย
5.3 ขาดการซักซ้อมอบรมให้เข้าใจสภาพที่ไม่ปลอดภัยและวิธีที่ไม่ปลอดภัย
5.4 ขาดความรู้กฏระเบียบของความปลอดภัย
5.5 ใช้วิธีการทํางานที่ผิดไปจากที่กําหนด
5.6 ใช้ท่าทางการทํางานที่อาจเกิดความปวดเมื่อย อ่อนล้า หรือเป็นอันตราย
5.7 พบลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่มี PPE ในขณะทํางาน
นอกจากนี้ยังมีลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัย เช่น ผู้สูงอายุ วัยรุ่น คนมีโรคประจําตัว คนที่ทํางานใหม่ไม่ชินกับงาน มีทัศนคติไม่ดี สภาพร่างกายไม่พร้อม เป็นต้นค่ะ

การตรวจความปลอดภัยดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการตรวจโดยรวมนะคะ ส่วนการตรวจความปลอดภัยที่มีความเฉพาะนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละองค์กรมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ต้องพิจารณาค่ะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น